วิธีสร้างบ้าน
5 แนวทางการออกแบบและก่อสร้างบ้านเพื่อรับมือน้ำท่วม หมายถึงการปลูกบ้านโดยยกใต้ถุนให้สูงเพื่อปล่อยให้นํ้าไหลผ่านไปได้อย่างสะดวก หลัก สําคัญของกลยุทธ์หนีนํ้า ที่ถูกวิธี

ไอเดียสร้างบ้านหนีน้ำท่วม

แนวทางที่ 1 การหนีนํ้า

หมายถึงการปลูกบ้านโดยยกใต้ถุนให้สูงเพื่อปล่อยให้นํ้าไหลผ่านไปได้อย่างสะดวก หลัก สําคัญของกลยุทธ์หนีนํ้าคือ

1. พื้นชั้นล่างของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย จะยกสูงเหนือนํ้าเช่น 1.5 เมตร หรือ 2.0 เมตร และ อาจใช้ประโยชน์จากชั้นล่างเป็นที่จอดรถ หรือ เก็บของ

2. ชั้นล่างเปิดโล่ง ไม่ก่อกําแพงขวางทางนํ้า ให้นํ้าไหลผ่านไปได้สะดวก

3. เสาชั้นล่างอาจจะต้านแรงปะทะจากนํ้าไม่ได้ จึงต้องเสริมเหล็กคํ้ายันทแยงเพื่อเสริมความมั่นคง ให้กับตัวบ้าน ในกรณีที่บ้านของท่านเป็นอาคารเก่าที่ก่อสร้างมานานแล้ว ท่านสามารถยกบ้านให้สูงขึ้นเพื่อหนีนํ้าได้ โดยเทคนิคการยกบ้านหนีนํ้านั้นต้องทําให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม มิฉะนั้นแล้วโครงสร้างอาจพังทลายได้ การหนีนํ้านี้ยังรวมถึงการถมที่ในบริเวณที่จะก่อสร้างอาคารให้เป็นเนินสูงที่นํ้าท่วมไม่ถึงแล้วปลูก สร้างอาคารบนเนินด้วย

วิธีสร้างบ้าน
วิธีสร้างบ้าน
วิธีสร้างบ้าน

แนวทางที่ 2 การสู้นํ้า

หมายถึงการหา วิธีสร้างบ้าน กันนํ้าไม่ให้เข้ามาสู่บริเวณภายในโครงการ หรือ สถานที่ที่ ประกอบด้วยอาคารหลายๆหลัง เช่น หมู่บ้านจัดสรร มหาวิทยาลัย ศูนย์ราชการ นิคมอุตสาหกรรม แนวทางนี้ ถือเป็นการลงทุนปิดล้อมพื้นที่ทั้งหมดเพื่อป้ องกันไม่ให้นํ้าเข้ามาภายในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกที่ ประหยัดกว่าการป้ องกันอาคารแต่ละหลังในพื้นที่ การสู้นํ้าหมายถึงการทําพนังเพื่อกันนํ้าเข้ามาบริเวณโครงการ โดยพนังที่นิยมใช้มี 3 รูปแบบคือ 1. พนังทําจากถุงทราย 2. พนังคันดิน และ 3. พนังคอนกรีตเสริมเหล็ก การก่อสร้างพนังกั้นนํ้าจะต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานทางวิศวกรรมที่ถูกต้องจึงจะมีความแข็งแรงต้านทานแรงดันนํ้าได้ หากใช้คันดินจะต้องก่อสร้างให้ได้ มาตรฐาน มีการบดอัดดินที่แน่นและมีฐานกว้างคล้ายรูปปิรามิด พนังกั้นนํ้าที่ถาวรคือพนังคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีความแข็งแรงและทนทานกว่าคันดิน และ คันถุงทรายมาก แต่จะมีราคาแพงกว่าด้วย หลักสําคัญอีก ประการของการสู้นํ้าคือจะต้องเตรียมเครื่องสูบนํ้าอย่างพอเพียงเผื่อในกรณีที่มีการรั่วซึมของนํ้าเข้ามาใน บริเวณพื้นที่

วิธีสร้างบ้าน
วิธีสร้างบ้าน

แนวทางที่ 3 กันน้ำ

การกันนํ้า หมายถึงการป้องกันมิให้นํ้าเข้ามาภายในอาคาร โดยการปิดผนึกอาคารเป็นหลังๆ หลักการ สําคัญจะต้องป้องกันนํ้าที่มาจากทั้งภายนอกอาคารและนํ้าที่ผุดมาจากทางด้านในอาคารเอง

3 กันนํ้า การกันนํ้า หมายถึงการป้องกันมิให้นํ้าเข้ามาภายในอาคาร โดยการปิดผนึกอาคารเป็นหลังๆ หลักการ สําคัญจะต้องป้ องกันนํ้าที่มาจากทั้งภายนอกอาคารและนํ้าที่ผุดมาจากทางด้านในอาคารเอง

1. การกันนํ้าที่มาจากด้านนอก เช่นการก่ออิฐบล็อกหรืออิฐมอญหน้าบ้าน การใช้แผ่นไฟเบอร์ ซีเมนต์บอร์ดเช่น แผ่นวีวา แผ่นเฌอร่าบอร์ด แผ่นสมารท์บอร์ด แผ่นสังกะสี แผ่นไม้ แผ่น พลาสติกบล็อกนํ้าเข้าบ้าน เช่นที่ ประตูหน้าบ้าน และ ช่องเปิดต่างๆของตัวบ้าน ตลอดจนการอุด รอยต่อต่างๆ ตามแนวกําแพงด้วยซิลิโคน หรือ อะคริลิค

2. การกันนํ้าที่ผุดขึ้นมาจากรูระบายนํ้าในบ้านหรือจากชักโครก ทําได้โดยการต่อท่อยืนพีวีซี (stand pipe) เข้ากับรูระบายนํ้าให้มีความสูง 1.5 เมตรขึ้นไปเพื่อเลี้ยงระดับนํ้าด้านนอกและด้านในให้ สมดุลกัน หรือ ใช้ถุงทรายกองทับรูระบายนํ้าให้มีความสูง 1.5 เมตรขึ้นไป ข้อระวัง การกันนํ้าเป็นแนวทางที่เหมาะสําหรับระดับนํ้าสูงไม่เกิน 1.0 เมตรเท่านั้น เพราะระดับนํ้าที่ สูงกว่านี้ จะมีแรงดันนํ้าขนาดมหาศาลกระทําต่อโครงสร้างอาคาร และอาจทําให้อาคารแตกร้าวเสียหาย หรือ พังทลายลงมาได้ ดังนั้นหากนํ้าระดับนํ้าสูงเกิน 1.0 เมตรขึ้นไปไม่ควรใช้การกันนํ้า แต่ควรใช้แนวทางที่ 4 การ ปล่อยนํ้าเข้าจะดีกว่า

วิธีสร้างบ้าน
วิธีสร้างบ้าน

แนวทางที่ 4 ปล่อยนํ้า

การปล่อยนํ้า คือการยอมให้นํ้าผ่านเข้ามาภายในบ้านเพื่อลดแรงดันนํ้าที่จะกระทําต่อตัวโครงสร้าง ของบ้าน มิฉะนั้นโครงสร้างอาจจะได้รับความเสียหายจากแรงดันนํ้าภายนอก การปล่อยนํ้าเข้าเป็นทางเลือกที่ เหมาะสําหรับกรณีที่ระดับนํ้าสูงเกิน 1 เมตรขึ้นไป ซึ่งโครงสร้างอาคารอาจจะไม่สามารถต้านทานแรงดันนํ้าได้ ลองพิจารณาดูนํ้าที่สูง 1 เมตรจะมีแรงดันต่อตัวบ้าน 1 ตันต่อตารางเมตรซึ่งถือเป็นแรงดันขนาดมหาศาล โดยทั่วไปโครงสร้างบ้านจะไม่ได้ออกแบบมาให้ต้านทานแรงดันนํ้าที่สูงขนาดนี้ได้ หลักการของการปล่อยนํ้ามี กฏ 3 ข้อดังนี

1. เจาะช่องเปิดในกําแพงบ้านไว้แล้วทําฝาปิด หากระดับนํ้าไม่ถึง 1 เมตรให้ปิดฝาไว้เพื่อกันนํ้าเข้า ตามแนวทางที่ 3แต่เมื่อระดับนํ้าด้านนอกสูงเกิน 1 เมตรขึ้นไป ควรจะเปิดฝานี้เพื่อให้นํ้าไหลเข้า มาในบ้านเพื่อเป็นการลดแรงดันภายนอกและปรับแรงดันด้านในและด้านนอกให้เท่ากัน เพื่อให้ โครงสร้างบ้านปลอดภัยจากแรงดันนํ้า

2. การปล่อยนํ้าเหมาะกับ สร้างบ้าน สองชั้นขึ้นไป เนื่องจากหากปล่อยนํ้าเข้ามาในบ้าน ชั้นล่างจะถูกนํ้า ท่วมและไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้

3. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านในชั้นล่างที่จะโดนนํ้าท่วมจะต้องเป็นวัสดุที่ทนนํ้า เช่น อิฐ คอนกรีต

แนวทางที่5 ลอยนํ้า

การลอยนํ้า คือการก่อสร้างอาคารที่สามารถปรับให้เคลื่อนที่ขึ้นลงตามระดับนํ้าได้ โดยอาศัยหลักทาง วิศวกรรมที่ว่า วัตถุที่จมนํ้าจะมีแรงยกตัวดันวัตถุให้ลอยขึ้น ดังนั้นเมื่อระดับนํ้าขึ้นสูงถึงจุดหนึ่ง แรงยกตัวจะมี ค่าเกินนํ้าหนักของตัวบ้าน ทําให้บ้านลอยขึ้นได้แต่เมื่อระดับนํ้าลดลง ตัวบ้านก็จะเคลื่อนที่ลงกลับสู่ตําแหน่ง เดิม

วิธีสร้างบ้าน ลอยนํ้าประกอบด้วยสองส่วนคือ โครงสร้างตัวบ้านตามปกติที่ก่อสร้างทั่วไป และ โครงสร้างส่วนที่ยกบ้านให้ลอยนํ้า (เรียกว่าโครงสร้างแพ) กฏของการสร้างบ้านลอยนํ้าคือ

1. วัสดุก่อสร้างต้องเป็นวัสดุเบา เช่น ไม้ ผนังอิฐมวลเบา

2. อาคารจะต้องไม่สูงมาก (ไม่ควรเกิน 2 ชั้น) เพื่อลดนํ้าหนักของอาคาร

3. โครงสร้างส่วนที่ยกบ้านให้ลอยขึ้นหรือโครงสร้างแพ จะอยู่ด้านล่างของตัวบ้าน โดยก่อสร้างคล้าย แพยึดกับโครงรูปกล่องฝั งใต้ดินทําจากวัสดุนํ้าหนักเบาเช่นคอนกรีตมวลเบา โครงไฟเบอร์กลาส ในต่างประเทศ มีการใช้แม้กระทั่งโฟมร่วมกับคอนกรีตผสมเส้นใยแก้ว การออกแบบต้องทําให้ทึบ นํ้า และมีปริมาตรเพียงพอที่เมื่อจมนํ้าแล้วจะเกิดแรงยกตัวมากพอที่จะยกบ้านให้ลอยขึ้น

 4. เสาเหล็กซึ่งยึดติดกับโครงสร้างแพ คอยบังคับให้บ้านเคลื่อน ที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ตามแรงยกตัวของ นํ้า

เราเป็นมากว่าผู้รับเหมาทั่วไปเพราะเรามีความชำนานและความโดดเด่นที่เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครในหลากหลายสไตล์เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลาเปล่า กับผู้รับเหมาทั่วไปที่ไม่มีความรับผิดชอบทิ้งงานและไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ แต่ถ้าลูกค้าต้องการที่จะหาผู้รับเหมาที่ดีและมีประสบการณ์มีความชำนานและมีทีมงานจากหลายๆฝ่ายละก็ สามารถทักหาเราเพื่อที่เราจะได้ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ท่านได้ เพราะเราเชื่อว่าลูกค้าเป็นเหมือนพี่น้องเราจึงให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลในแบบฉบับครอบครัว

ขอขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์จาก : (รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมาน)

ติดต่อเรา⁣

รับรีโนเวทบ้าน

หรือโทรติดต่อได้ที่เบอร์

☎️ TEL : 098-016-1989