คานคอนกรีต เสริมเหล็กจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถรับแรงตามยาวและตามขวางกับหน้าตัดได้ โดยอาศัยเหล็กเส้นเสริมในแนวตามยาวและขวางไปพร้อมกันจึงจะทำได้ โดยทั่วไปแล้วคานคอนกรีตที่เทหล่อในที่จะถูกหล่อเป็นเนื้อเดียวกันกับพื้นคอนกรีตที่คานนั้นรองรับอยู่
คานคอนกรีต ทำหน้าที่อะไรบ้าง
โดยการวัดความสูงของคานจะวัดจนถึงหลังพื้นคอนกรีตรวมไปด้วยหมายเหตุ ต่อไปนี้เป็นการค่าประมาณการเท่านั้น จำเป็นต้องได้รับการคำนวณโดยวิศวกร
• ความลึกของคานเพิ่มขึ้นทีละ 2″ (51)
• การประมาณความลึกของคานแบบหยาบๆ จะเท่ากับความยาวของช่วงพาดหาร 16
• ความลึกประสิทธิผล วัดจากจุดรับแรงอัดของหน้าตัดคานจนถึงเหล็กเสริมรับแรงดึง
• ความกว้างของคานโดยประมาณจะเท่ากับ 1 ถึง 1% ของความลึกคาน และเพิ่มขึ้นทีละ 2″ หรือ 3″ (50 หรือ 75)
• ความกว้างของคานควรจะเท่ากับหรือน้อยกว่าความกว้างของหน้าเสาด้านที่รองรับคาน
• โดยทั่วไปถ้าหน้าตัดของคานมีขนาดได้สัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว การปรับความสามารถในการรับน้ำหนักสามารถออกแบบได้โดยการลดหรือเพิ่มจำนวนของเหล็กเส้นแทนเหล็กเสริมบน เป็นเหล็กเส้นวิ่งตามยาวเพื่อรับหน่วยการเปลี่ยนแปลงขนาดหน้าตัดคาน
• เหล็กเสริมบน เป็นเหล็กเส้นวิ่งตามยาวเพื่อรับหน่วยการเปลี่ยนแปลงขนาดหน้าตัดคานแรงดัดเนื่องจากโมเมนต์ลบที่รองรับเสา และในบางครั้งวิศวกรโครงสร้างอาจจำกัดความลึกของคาน จึงจำเป็นต้องเสริมเหล็กบนเพื่อช่วยคอนกรีตรับแรงอัดบริเวณช่วงกลางของคานด้วยเช่นกัน
• เหล็กเสริมล่าง (bottom bar) เป็นเหล็กเสริมวิ่งตามยาวเพื่อรับหน่วยแรงดัดเนื่องจากโมเมนต์บวกที่จุดกลางคานซึ่งจะมีลักษณะเป็นแรงดึง ณ บริเวณท้องคาน
• เหล็กเสริมคอม้า (truss bar) เป็นเหล็กเส้นวิ่งตามจุดหักมุมขึ้น-ลง ณ ตำแหน่งที่โมเมนต์ภายในคานเปลี่ยนจากโมเมนต์บวกไปเป็นโมเมนต์ลบ หรือเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม
เพื่อรับหน่วยแรงดัดเนื่องจากโมเมนต์บวกที่จุดกลางคาน
• แรงดึงทแยงมุมเกิดขึ้นเนื่องจากมีหน่วยแรงดึงบริเวณใกล้จุดรองรับเมื่อคานรับน้ำหนัก
• ระยะห่างอย่างน้อย 1″ (25) หรือไม่ต่ำกว่า11/31 x เส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริมหรือหิน
ผสมคอนกรีต
• ระยะหุ้มอย่างน้อย 1/2″ (38) เพื่อป้องกันเหล็กเสริมจากการผุกร่อนหรือไฟไหม้
• บากหรือลบมุม 3/4″ (19)
• เหล็กเส้นในคานงอเข้าลึกลงในเสาเพื่อถ่ายเทน้ำหนักลงเสา และยึดการต่อคานเข้ากับเสาให้แน่นหนา
• เนื่องจาก คอนกรีต และเหล็กเสริมสามารถก่อสร้างเป็นเนื้อเดียวกันต่อเนื่องตลอดได้ง่าย ประกอบกับความต่อเนื่องหรือการยึดติดกันระหว่างคาน เสา และพื้นจะช่วยลดค่าโมเมนต์ดัดของโครงสร้างได้มาก จึงเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคานที่มีความต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 ช่วงพาดขึ้นไป จะช่วยลดโมเมนต์ดัดได้มากที่สุด
• เหล็กเสริมตามขวางใน คานคอนกรีต ทำหน้าที่ต้านแรงเฉือนเช่น เหล็กคอม้า เหล็กปลอก หรือลูกตั้ง
• เหล็กคอม้าเป็นส่วนหนึ่งของเหล็กเส้นตามยาวที่ทำมุม 30หรือมากกว่ากับแนวแกน เพื่อวิ่งต่อเนื่องเสริมรับแรงจากแนวล่างไปสู่แนวบนของคาน และยังช่วยรับแรงเฉือนในแนวดิ่งและแนวทแยงมุมในช่วงเอียงทำมุมอีกด้วย
• เหล็กปลอกหรือเหล็กลูกตั้งคือ เหล็กเส้นตัดเป็นรูปตามหน้าตัดคานล้อมรอบเหล็กตามยาว ทำหน้าที่รับแรงเฉือนในแนวดิ่งและแนวทแยงมุม
• การงอปลายเหล็กเส้นใน คานคอนกรีต เพื่อช่วยยึดสมอตัวเหล็กเส้นเองให้เข้ากับเนื้อคอนกรีต มาตรฐานทั่วไปอ90, 135 หรือ 180° เกี่ยวเข้ากับเหล็กเสริมตามยาวของคานอีกตัวหรือของเสา
เราเป็นมากว่าผู้รับเหมาทั่วไป เพราะเรามีความชำนาน และความโดดเด่นที่เฉพาะตัว ที่ไม่เหมือนใคร ในหลากหลายสไตล์ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดี ให้กับลูกค้า เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลาเปล่า กับผู้รับเหมาทั่วไป ที่ไม่มีความรับผิดชอบทิ้งงาน และไม่มีประสบการณ์ที่มากพอ แต่ถ้าลูกค้าต้องการ ที่จะหาผู้รับเหมาที่ดี และมีประสบการณ์ มีความชำนาน และมีทีมงาน จากหลายๆฝ่ายละก็สามารถทักหาเราได้ เพื่อที่เราจะได้ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่ท่านได้ เพราะเราเชื่อว่า ลูกค้าเป็นเหมือนพี่น้อง เราจึงให้ความสำคัญ และใส่ใจในการดูแล ในแบบฉบับครอบครัว
ขอบคุณข้อมูลจาก : thaimetallic
ติดต่อเรา
หรือโทรติดต่อได้ที่เบอร์
☎️ TEL : 098-016-1989